หลายคนคงประสบปัญหาเรื่องเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน มีหนี้ก้อนโต ไม่มีเงินเหลือเก็บ ต้องทำงานหนักขึ้นทุกวัน มีความหวังลมๆแล้งๆกับการเสี่ยงโชค มองดูแล้วอนาคตช่างมืดมน ครั้งนี้มีวิธีการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ โดยแบ่งสัดส่วนการใช้เงินทั้งหมด 6 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
- ค่าใช้จ่ายประจำวัน (60%) เป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือนตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน(physiological needs) ของมาสโลว์(Maslow) ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ อื่นๆ ทั้งนี้ต้องตัดสินใจที่จะลดค่าใช้จ่ายที่เกินความต้องการและมีประโยชน์น้อยเช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หวย การพนัน เที่ยวผับ บาร์ ซื้อของออนไลน์ ของใช้ฟุ่มเฟื่อยต่างๆ
2. เงินสำรอง (10 %) เป็นการเก็บเงินไว้สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วย ค่าเทอมบุตร ค่าเดินทางกรณีญาติพี่น้องป่วยหรือเสียชีวิต ช่วงตกงาน อื่นๆ ควรสะสมให้ได้ประมาณ 3-4 เท่าของเงินเดือนที่ได้รับ
3. เงินลงทุน (10 % )เป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างความมั่นคงในชีวิตเพื่อการไปสู่การมีอิสระทางการเงิน การใช้ชีวิตตามที่ใฝ่ฝันไว้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ซื้อหุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม หรือลงทุนธุรกิจส่วนตัว SME ขายของออนไลน์ อื่นๆตามความถนัดและโอกาสของแต่ละคน
4.เงินลดหนี้ 10% เป็นการลดภาระดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินซื้อบ้าน ซื้อรถกับสถาบันการเงิน หนี้บัตรเครดิต เงินกู้นอกระบบ หนี้ กยศ. หากไม่มีหนี้สามารถนำเงินส่วนนี้ไปสมทบกับเงินลงทุนเพื่อไปสู่เป้าหมายที่เร็วขึ้น
5. เงินออม 10 % เป็นก้อนที่สำคัญมีวัตถุประสงค์จะใช้ในยามแก่ เฒ่า อาจจะอยู่ในรูปของการซื้อกองทุนรวม หรืออื่นๆที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว เช่น SSF , RMF ส่วนใหญ่ระยะเวลา 10 ปี ขึ้นไป
6. เงินบริจาค 5 % เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ด้อยโอกาส จะช่วยขัดเกลาจิตใจ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น เช่น มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ (CCF)เพื่อเด็กและเยาวชน มีทั้งหักรายเดือนหรือบริจาคครั้งเดียว หรือองค์กรการกุศลอื่นๆ
สำคัญที่สุดของการจัดการเรื่องเงินคือการวางแผนและเป้าหมายการใช้เงินที่ชัดเจนและความมีวินัย ความมุ่งมั่น ความต่อเนื่อง จะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าของการใช้เงิน นำไปสู่การใช้ชีวิตที่สมดุล แล้วจะได้ลิ้มรสชาติ ความเป็นอิสรภาพทางการเงิน ว่ามันเป็นอย่างไร