เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติให้อยู่หมัด จะกล่าวถึงความคิดอัตโนมัติ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Automatic thought (AT) เป็นความคิดที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เราเจอสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นและจะแสดงหรือตอบกลับสิ่งเร้านั้นผ่านทางอารมณ์ การแสดงออกทางพฤติกรรมหรือทางสรีระ ภาษากาย มันเกิดขึ้นเร็วมากและเกิดขึ้นบ่อยครั้งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา
เราไม่สามารถบังคับไม่ให้เกิดความคิดได้แต่เราสามารถจัดการกับความคิดนั้นได้ ยกตัวอย่าง ขณะเรานอนหลับบนเตียงนอน เราได้ยินเสียงสิ่งของตกลงพื้นเสียงดัง ความคิดแวบแรกที่เกิดขึ้นจะเชื่อมโยงกับความเชื่อหรือประสบการณ์ที่เราประสบเจอในอดีต เช่นเคยมีประสบการณ์โดนขโมยขึ้นบ้าน ความคิดแวบแรกก็จะคิดว่าเป็นขโมยขึ้นบ้าน ในความเป็นจริงแล้วอาจเกิดจากหนูที่หากินตอนกลางคืนแล้วทำสิ่งของตกหล่นก็ได้ ดังนั้นเทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) จึงมีความสำคัญมีรายละเอียดดังนี้
-เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) ข้อที่ 1.แยกแยะให้ได้ว่าความคิดไหนเป็นความคิดอัตโนมัติ ส่วนใหญ่คือความคิดแวบแรกหลังจากที่พบกับสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น
–เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) ข้อที่ 2. ถ่วงเวลาให้เรามีเวลาคิดไตร่ตรอง โดยใช้หลักการเหรียญสองด้านคือมีทั้งดีและไม่ดี บวกหรือลบ มืดหรือสว่าง ยกตัวอย่าง ถ้าความคิดแวบแรกเป็นความคิดด้านลบต้องหาวิธีคิดด้านบวกในความคิดแวบที่สองทันที ยกตัวอย่างนอนอยู่บนเตียงได้ยินเสียงของตกลงพื้นเสียงดังถ้าความคิดแวบแรก(ความคิดอัตโนมัติ)คิดว่าเป็นขโมย ให้รีบสร้างความคิดที่เป็นธรรมชาติเช่นหนูอาจจะทำให้ของตก
-เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) ข้อที่ 3. ตั้งสติและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยยังไม่ปักใจเชื่อหรือด่วนสรุป โดยการตรวจสอบทีละประเด็นที่เราคิดหรือสงสัยโดยใช้ข้อมูลที่อ้างอิงได้ ไม่ใช่เกิดจากความคิด ความเชื่อ(Core belief) หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
-เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) ข้อที่ 4. ประมวลผลตามสภาพความเป็นจริง โดยยังไม่ต้องนำความเชื่อพื้นฐานในระดับลึก(Core belief)เพราะอย่าลืมว่าสถานการณ์หรือเหตุการณ์ในแต่ละครั้งไม่เหมือนกันจะใช้ความเชื่อ พื้นฐานในระดับลึก (Core belief) มาตัดสินไม่ได้ หากพบว่าความคิดแวบแรก(ความคิดอัตโนมัติ)ไม่ถูกต้องให้รีบเปลี่ยนความคิดใหม่โดยการวิเคราะห์ตามความเป็นจริง
-เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) ข้อที่ 5. ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดจากความคิดที่ผ่านการไตร่ตรองแล้ว เมื่อมั่นใจแล้วว่าความคิดแวบแรก(ความคิดอัตโนมัติ)ที่เกิดขึ้นผ่านการตรวจสอบไตร่ตรองรอบคอบแล้วว่าถูกต้องจึงค่อยแสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นๆ
การจัดการกับความคิดอัตโนมัติเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตประจำวัน การรับรู้ให้เท่าทันกับความคิดอัตโนมัติจะช่วยให้เรามีเวลาคิดไตร่ตรองที่จะตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นนั้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวันเวลาและสถานที่ สุดท้ายเราไม่ต้องมานั่งเสียใจที่ปล่อยให้ความคิดอัตโนมัติทำงานโดยไม่คิดตรวจสอบหรือไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน