กิจกรรม grand round เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงานคุณภาพของโรงพยาบาล เป้าหมายหลักคือการรวมตัวกันของทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเพื่อผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา มีหลายแห่งประสบปัญหาตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำด้วยซ้ำ บ้างก็บอกว่ามันยากที่จะนัดรวมตัวกัน บ้างก็บอกว่าไม่ว่าง บ้างก็บอกว่าไม่สำคัญใช้กิจกรรมอื่นก็น่าจะได้และอีกเหตุผลอื่นๆอีกมากมาย ครั้งนี้ขอนำเสนอ 6 เคล็ดลับทำ Grand round ให้ปัง เผื่อหลายท่านจะเกิดไอเดีย ใหม่ๆ 6 เคล็ดลับทำ grand round ให้ปัง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ทำ grand round แบบง่ายๆ ไม่ต้องมีหลักวิชาการเยอะ ไม่ต้องเน้นกระบวนการให้มากนัก แต่ให้โฟกัสที่ผลลัพธ์ที่ผู้ป่วยและญาติจะได้รับ ทีมเข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับ เมื่อทุกคนเห็นประโยชน์ก็จะเข้าร่วมกิจกรรมเองหาจุดร่วมหรือความจำเป็นในการทำ grand round เพื่อแสวงหาแนวร่วม ได้แก่ ต้องทำเพื่อเตรียมรับการประเมิน HA , ต้องทำการบ้านส่ง สรพ. ,ทำเพื่อแก้ไขปัญหาในหน้างาน เป็นต้นทำนิดเดียวแต่ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า มองว่ากว่าจะรวมตัวกันได้ของทีมสหวิชาชีพเกิดขึ้นได้ไม่บ่อย ดังนั้นต้องใช้เวลาอย่างคุ้มค่าและให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้แม่นยำเรื่องการทำกิจกรรม AAR, C3THER, RCA และอื่นๆ เพื่อให้สามารถควบคุมเวลา ครอบคลุมประเด็นหรือเป้าหมายสำคัญ สร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อดึงดูดให้คนสนใจเข้าร่วมอย่างต่อเนื่องกระจายความเสี่ยงให้แต่ละแผนกหรือหอผู้ป่วยเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรม grand round เพื่อให้เกิดความเป็นเจ้าของ ใส่ใจกับข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าตนเองมีตัวตนและมีคุณค่ามีรางวัลล่อใจสำหรับคนที่เข้าร่วมกิจกรรม grand ...
ถ้าพูดถึงการทบทวนขณะดูแลผู้ป่วยหรือที่เรียกว่า "C3THER " คงจะคุ้นเคยกันดี ครั้งนี้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนวิธีการและมุมมองของคนที่นำไปใช้จริงมาเล่าให้ฟัง อาจเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของท่านเอง เริ่มต้นด้วย 1.การเล่าข้อมูลของผู้ป่วยให้ทีมฟังใช้เวลา 2-3 นาทีก็น่าจะพอ เพราะทุกคนคงเคยพบกับผู้ป่วยมาบ้างแล้ว ประเด็นที่ควรเล่าประกอบด้วย อาการที่มาโรงพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยย้อนหลัง การวินิจฉัยโรคที่เป็น บุคคลที่ดูแล ปัญหาที่ค้นพบ เป็นต้น 2.เริ่มด้วย C ตัวแรกคือ Care ทบทวนการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เรื่องการกินอาหาร กินยา การดูแลตนเองของผู้ป่วย ความไม่สุขสบายต่างๆ การนอนหลับพักผ่อน ความวิตกกังวล ความเครียด การปรับตัว เป็นต้น เมื่อพบประเด็นปัญหาจึงช่วยกันคิดหาวิธีดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้น 3. C ตัวที่สองคือ Communication ทบทวนประเด็นที่ต้องสื่อสารให้กับผู้ป่วย ญาติ และทีมผู้ดูแล ทั้งองค์ความรู้ ทักษะ แผนการดูแลรักษา เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันของทุกฝ่าย 4.C ตัวที่สามคือ Continuity ทบทวนแผนการดูแลควบคู่กับแผนการจำหน่ายของผู้ป่วยทั้งนี้ให้สอดคล้องกับปัญหาที่พบทั้งในระยะที่รักษาตัวในโรงพยาบาลและกลับบ้าน 5.T คือ Team ทบทวนว่าทีมผู้ให้การดูแลประกอบด้วยวิชาชีพใดบ้างได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ อื่นๆ ขึ้นอยู่กับปัญหาของผู้ป่วย 6.H ...
เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติให้อยู่หมัด จะกล่าวถึงความคิดอัตโนมัติ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Automatic thought (AT) เป็นความคิดที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เราเจอสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นและจะแสดงหรือตอบกลับสิ่งเร้านั้นผ่านทางอารมณ์ การแสดงออกทางพฤติกรรมหรือทางสรีระ ภาษากาย มันเกิดขึ้นเร็วมากและเกิดขึ้นบ่อยครั้งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา เราไม่สามารถบังคับไม่ให้เกิดความคิดได้แต่เราสามารถจัดการกับความคิดนั้นได้ ยกตัวอย่าง ขณะเรานอนหลับบนเตียงนอน เราได้ยินเสียงสิ่งของตกลงพื้นเสียงดัง ความคิดแวบแรกที่เกิดขึ้นจะเชื่อมโยงกับความเชื่อหรือประสบการณ์ที่เราประสบเจอในอดีต เช่นเคยมีประสบการณ์โดนขโมยขึ้นบ้าน ความคิดแวบแรกก็จะคิดว่าเป็นขโมยขึ้นบ้าน ในความเป็นจริงแล้วอาจเกิดจากหนูที่หากินตอนกลางคืนแล้วทำสิ่งของตกหล่นก็ได้ ดังนั้นเทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) จึงมีความสำคัญมีรายละเอียดดังนี้ -เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) ข้อที่ 1.แยกแยะให้ได้ว่าความคิดไหนเป็นความคิดอัตโนมัติ ส่วนใหญ่คือความคิดแวบแรกหลังจากที่พบกับสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น -เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) ข้อที่ 2. ถ่วงเวลาให้เรามีเวลาคิดไตร่ตรอง โดยใช้หลักการเหรียญสองด้านคือมีทั้งดีและไม่ดี บวกหรือลบ มืดหรือสว่าง ยกตัวอย่าง ถ้าความคิดแวบแรกเป็นความคิดด้านลบต้องหาวิธีคิดด้านบวกในความคิดแวบที่สองทันที ยกตัวอย่างนอนอยู่บนเตียงได้ยินเสียงของตกลงพื้นเสียงดังถ้าความคิดแวบแรก(ความคิดอัตโนมัติ)คิดว่าเป็นขโมย ให้รีบสร้างความคิดที่เป็นธรรมชาติเช่นหนูอาจจะทำให้ของตก -เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought (AT) ข้อที่ 3. ตั้งสติและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยยังไม่ปักใจเชื่อหรือด่วนสรุป โดยการตรวจสอบทีละประเด็นที่เราคิดหรือสงสัยโดยใช้ข้อมูลที่อ้างอิงได้ ไม่ใช่เกิดจากความคิด ความเชื่อ(Core belief) หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น -เทคนิคการจัดการความคิดอัตโนมัติ Automatic thought ...
After Action Review หรือเรียกสั้นๆว่า AAR เป็นเครื่องมือหนึ่งในการทบทวนเพื่อปรับปรุง พัฒนางาน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี 1970 กองทัพสหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาขึ้นในการเรียนรู้ ถอดบทเรียนทางการทหาร นำไปสู่การทบทวนภารกิจและพัฒนาขีดความสามารถในการรบซึ่งประสบความสำเร็จในสงครามอ่าวเปอร์เซียและอีกหลายสมรภูมิ และเริ่มนำมาปรับใช้ในกระบวนงานทั่วไป จึงขอเสนอ 6 ขั้นตอนการทำ AAR อย่างง่าย เพื่อใช้ในการทำงานต่างๆ After Action Review หรือเรียกสั้นๆว่า AAR เหมาะสำหรับงานที่มีกระบวนการหรือขั้นตอนที่ชัดเจน มีการปฏิบัติได้สักระยะหนึ่งสามารถมีข้อมูลมาวิเคราะห์ได้พอสมควร มีประโยชน์สำหรับคนที่ประสบปัญหาเช่นงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เกิดอุบัติเหตุขณะทำงาน ขาดทุน หรือภัยคุกคามอื่นๆ จะเห็นได้ว่าใช้ได้กับทุกเรื่อง 6 ขั้นตอนการทำ AAR อย่างง่าย ใช้เวลาในการทำกิจกรรม 45-60 นาที มีผู้นำกิจกรรม ผู้บันทึก ผู้เล่าเรื่องและผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 6 ขั้นตอนการทำ AAR อย่างง่าย มีรายละเอียดดังนี้ นำกระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานที่จะทบทวนมากางให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ทำความเข้าใจ 2. เริ่มต้นโดยผู้ที่เป็นผู้นำกิจกรรม AAR อย่างง่าย อธิบายถึงเป้าหมายของการทำกิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากทำกิจกรรม บอกกฏกติกาสำคัญคือทุกคนแสดงความเห็นได้อิสระ ไม่หาคนทำผิดพลาดแต่จะช่วยกันหาขั้นตอน/สาเหตุที่ผิดพลาดและช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว 3. ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าถึงกระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงให้ทุกคนได้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เปิดโอกาสให้ซักถาม ข้อสงสัยได้เป็นระยะ 4. ...
หลายคนคงประสบปัญหาเรื่องเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน มีหนี้ก้อนโต ไม่มีเงินเหลือเก็บ ต้องทำงานหนักขึ้นทุกวัน มีความหวังลมๆแล้งๆกับการเสี่ยงโชค มองดูแล้วอนาคตช่างมืดมน ครั้งนี้มีวิธีการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ โดยแบ่งสัดส่วนการใช้เงินทั้งหมด 6 ส่วนด้วยกัน ดังนี้ ค่าใช้จ่ายประจำวัน (60%) เป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือนตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน(physiological needs) ของมาสโลว์(Maslow) ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ อื่นๆ ทั้งนี้ต้องตัดสินใจที่จะลดค่าใช้จ่ายที่เกินความต้องการและมีประโยชน์น้อยเช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หวย การพนัน เที่ยวผับ บาร์ ซื้อของออนไลน์ ของใช้ฟุ่มเฟื่อยต่างๆ 2. เงินสำรอง (10 %) เป็นการเก็บเงินไว้สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วย ค่าเทอมบุตร ค่าเดินทางกรณีญาติพี่น้องป่วยหรือเสียชีวิต ช่วงตกงาน อื่นๆ ควรสะสมให้ได้ประมาณ 3-4 เท่าของเงินเดือนที่ได้รับ 3. เงินลงทุน (10 % )เป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างความมั่นคงในชีวิตเพื่อการไปสู่การมีอิสระทางการเงิน การใช้ชีวิตตามที่ใฝ่ฝันไว้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ซื้อหุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม หรือลงทุนธุรกิจส่วนตัว SME ขายของออนไลน์ ...
8-8-8=24 ชั่วโมง นี่คงไม่ใช่มาไบ้หวยหรือเสี่ยงโชคแต่หากเป็นการแบ่งเวลาเพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล ทฤษฎีนี้มีมายาวนานแล้ว คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะบริหารหรือใช้เวลาให้คุ้มค่ามากกว่ากัน ถ้าคุณอยากมีชีวิตที่มีความสุขมีความสมดุลในแบบฉบับของคุณ เราขอแนะนำการใช้ชีวิตด้วยการแบ่งเวลา 8-8-8 ในการปรับชีวิตให้สมดุล 8 ตัวแรก หมายถึง 8 ชั่วโมงในการทำงาน เราคงได้ยินคำว่าไม่มีสิ่งใดได้มาฟรีนั้นหมายถึงทุกคนต้องทำงานเพื่อแลกเงินหรืออาหาร สำหรับมนุษย์เงินเดือนต้องทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็น ยกตัวอย่างเริ่มทำงาน 8.00 น. เลิกงาน 16.00 น. เป็นต้น มีบ่อยครั้งที่ต้องหอบเอางานไปทำที่บ้าน วันหยุดก็ต้องทำงานที่ค้างให้เสร็จ ผลลัพธ์ก็คือคนใกล้ตัวบ่นบอกไม่มีเวลาให้กับพวกเขาเหล่านั้น บางครั้งพูดแต่เรื่องงานทำให้ทุกคนเกิดความเครียด ทำให้ไม่มีความสุขในชีวิต ถามว่าจะทำอย่างไรดี มีวิธีมาแนะนำใช้หลักการ เปิด-ปิดสวิทย์ไฟ เริ่มต้นเปิดสวิทย์ไฟหมายถึงการเริ่มทำงานเช่นเริ่มงานเวลา 08.00 น.ตามหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย พอถึงเวลา 16.00 น. ให้ปิดสวิทย์ไฟทันทีหมายถึงหยุดการทำงานให้ความรู้สึกห้องที่มืดสนิทไม่มีงานในความคิดของเรา ตอนแรกอาจจะรู้สึกกังวลใจกลัวสารพัดอย่างไม่ว่าจะเป็นกลัวเจ้านายตำหนิว่างานไม่เดินหรือไม่เสร็จตามเวลา สิ่งสำคัญขณะคุณทำงานต้องรู้จักวางแผนการทำงานล่วงหน้า มีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนตรงตามที่เจ้านายคุณต้องการ ประเภทที่ว่าทำน้อยแต่ได้มาก 8 ตัวที่สอง หมายถึงการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นการใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองและคนรอบข้าง เมื่อคุณกลับจากการทำงานบางครั้งเกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงานร่างกายต้องการการผ่อนคลายรวมถึงจิตใจของเราด้วย ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ ถามว่ามีเยอะแยะมากมายเลือกอย่างไรดีเช่นออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง ช็อปปิ้ง ปลูกผัก อยู่กับสัตว์เลี้ยงสักตัว สังสรรค์กับเพื่อน อีกมากมาย ที่อยากจะแนะนำส่วนที่หนึ่งการออกกำลังกายอะไรก็ได้อย่างน้อย 45 นาทีถึง 1 ...